วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561


วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation Technique)

หากจะกล่าวถึงว่า วิธีสอนใดที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด แน่นอนนั่นคือการสอนที่ให้ผู้เรียนได้สัมผัสการของจริงหรือสถานการณ์ที่เป็นจริง เพราะการที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงนั้น จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ยาวนานและเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ แต่ถ้าหากไม่สามารถปฏิบัติในสถานการณ์ที่เป็นจริงได้  การเรียนการสอนที่ใช้สถานการณ์จำลองก็เป็นทางเลือกที่ดีที่ให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับการเรียนที่สะท้อนความเป็นจริง ตามจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนได้กำหนดไว้ โดยนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ไว้คล้ายคลึงกัน ดังนี้
ทิศนา  แขมมณี (2550 : 370) กล่าวว่า วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้น โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
ความมุ่งหมายของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
               สถานการณ์จำลองเป็นเหตุการณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบสถานการณ์จริง  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนให้เกิดความรู้และทักษะที่เกิดจากการได้ปฏิบัติหรือเผชิญในสถานการณ์จำลองนั้นๆ ดังรายละเอียดที่นักการศึกษาท่านให้ข้อคิดเห็นไว้ ดังนี้
ทิศนา  แขมมณี (2550 : 370) กล่าวว่า  วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริงและเกิดความเข้าใจในสถานการณ์หรือเรื่องที่มีตัวแปรจำนวนมากทีมีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน

องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
ทิศนา  แขมมณี (2550 : 370) กล่าวถึงการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. มีผู้สอนและผู้เรียน
2. มีสถานการณ์ ข้อมูล บทบาทและกติกา ที่สะท้อนความเป็นจริง
3. ผู้เล่นในสถานการณ์มีปฏิสัมพันธ์กันหรือมีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ในสถานการณ์นั้น
4. ผู้เล่นหรือผู้สวมบทบาทมีการใช้ข้อมูลที่ให้ในการตัดสินใจ
5. การตัดสินใจส่งผลต่อผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
6. มีการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์ วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น เพื่อการเรียนรู้
7. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

ขั้นตอนของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
             ทิศนา  แขมมณี (2550 : 371-372) ได้แนะนำไว้ว่า ขั้นตอนของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง มี
1. ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลองที่จะใช้สอน โดยอาจสร้างขึ้นเองหรืออาจเลือกสถานการณ์
จำลองที่มีผู้สร้างไว้แล้ว ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด เมื่อมีสถานการณ์จำลองแล้ว 
ผู้สอนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจในสถานการณ์จำลองนั้นและควรลงเล่นด้วยตนเอง เพื่อจะได้
ทราบถึงอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ ในการเล่น จะได้จัดเตรียมการป้องกันหรือแก้ไขไว้ให้พร้อม
2. การนำเสนอสถานการณ์จำลอง   เนื่องจากสถานการณ์จำลองส่วนใหญ่ จะมีความซับซ้อน
พอสมควรไปถึงระดับมากการนำเสนอสถานการณ์ บทบาท และกติกา จำเป็นต้องมีการเตรียมการ
อย่างดี ควรนำเสนออย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ไม่สับสน และควรจัดข้อมูลทุกอย่างไว้ให้พร้อม
ควรเริ่มด้วยการบอกเหตุผลและวัตถุประสงค์กว้างๆ แก่ผู้เรียนว่า การเล่นในสถานการณ์จำลองนี้จะ
ให้อะไรและเหตุใดจึงมาเล่นกัน ต่อไปจึงค่อยให้ภาพรวมของสถานการณ์จำลองทั้งหมด แล้วจึงให้
รายละเอียดที่จำเป็น เช่น กติกา บทบาท เมื่อทุกคนเข้าใจพอสมควรแล้ว จึงให้เล่นได้
3. การเลือกบทบาท เมื่อผู้เรียนเข้าใจภาพรวมและกติกาแล้ว ผู้เรียนทุกคนควรได้รับบทบาท
ในการเล่น ซึ่งผู้เรียนอาจเป็นผู้เลือกเอง หรือในบางกรณีผู้สอนอาจกำหนดบทบาทให้ผู้เรียน
4. การเล่นในสถานการณ์จำลอง ในขณะที่ผู้เรียนกำลังเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ผู้สอนควร
ติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนและจดบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์
ต่อการการเรียนเรียนรู้ของผู้เรียน ให้คำปรึกษาตามความจำเป็น รวมทั้งแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
5. การอภิปราย การอภิปรายควรมุ่งประเด็นไปที่การเรียนรู้ความเป็นจริงว่า ในความเป็นจริง
สถานการณ์เป็นอย่างไรและอะไรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งผู้เรียนมักได้เรียนรู้จาก
การเล่นของตนในสถานการณ์นั้น จึงทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้เรียนรู้ความเป็นจริงแล้ว
การอภิปรายขยายต่อไปว่า เราควรจะให้สถานการณ์นั้นคงอยู่ หรือ เปลี่ยนแปลงไป
เป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้

จุดเด่นของการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
ทิศนา  แขมมณี (2550 : 373) กล่าวว่า จุดเด่นของการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง มีดังนี้
               1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่มีความสัมพันธ์ซับซ้อนได้อย่างเข้าใจ เกิดความเข้าใจ เนื่องจากได้มีประสบการณ์ที่เห็นประจักษ์ชัดด้วยตนเอง
               2. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูงมาก ผู้เรียนได้เรียนอย่าง
สนุกสนาน การเรียนรู้มีความหมายต่อตัวผู้เรียน
               3. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก เช่น
กระบวนการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กระบวนการสื่อสาร กระบวนการตัดสินใจ กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการคิด เป็นต้น
ข้อจำกัดของการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
ทิศนา  แขมมณี (2550 : 373) กล่าวถึง ข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ไว้ ดังนี้
1. เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องมีวัสดุอุปกรณ์ และข้อมูลสำหรับผู้เล่น
ทุกคน และสถานการณ์จำลองบางเรื่องมีราคาแพง
2. เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก เพราะต้องให้เวลาแก่ผู้เล่นในการเล่นและการอภิปราย
3. เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมการมาก ผู้สอนต้องศึกษารายละเอียด และลองเล่นด้วยตนเอง และในกรณีที่ต้องสร้างสถานการณ์เอง ยิ่งต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น
4. เป็นวิธีสอนที่ต้องพึ่งสถานการณ์จำลอง ถ้าไม่มีสถานการณ์จำลองที่ตรงกับ
วัตถุประสงค์หรือความต้องการ ผู้สอนต้องสร้างขึ้นเอง ถ้าผู้สอนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างสถานการณ์เพียงพอ ก็จะไม่สามารถสร้างได้
5. เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เล่นและแสดงออกอย่างหลากหลาย จึงเป็น
การยากสำหรับผู้สอนในการนำการอภิปรายให้ไปสู่การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

สรุป
               การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง หมายถึง กระบวนการที่ผู้สอนใช้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยผู้สอนจัดสถานการณ์ขึ้นเลียนแบบของจริง โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการแก้ปัญหา ได้ใช้ทักษะกระบวนการคิดและการตัดสินใจจากสถานการณ์นั้นๆ  โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทบาทหรือในสถานการณ์นั้นๆ ให้มากที่สุด

ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2553).  ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกร.
Kamphaeng Phet RajabhatUniversity.(2011). http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121826/innovation/index.php/2014-02-05-07-26-48 . [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2561


ตัวอย่างแผนการสอนแบบจำลองสถานการณ์

  หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  เรื่อง การวัดความยาว
รหัสวิชา ชื่อรายวิชา ค 22101       คณิตศาสตร์                                          กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2     ภาคเรียนที่ 1                                                  ปีการศึกษา 2560  เวลา 1 ชั่วโมง
ผู้สอน นายจักรชัย  ไชยวงศ์                                                                         โรงเรียนวงเวียนบางเขน
มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 2 การวัด
                มาตรฐาน ค 2.1     เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
                     ค 2.1  .2/1       เปรียบเทียบหน่วยความยาว หน่วยพื้นที่ ในระบบเดียวกัน และต่างระบบและ              
                                             เลือกใช้หน่วยการวัดได้อย่างเหมาะสม
                     ค 2.1  .2/2       คาดคะเนเวลา ระยะทาง พื้นที่ ปริมาตรและน้ำหนักได้อย่างใกล้เคียงและอธิบาย
                                              วิธีการที่ใช้ในการคาดคะเน
2.1  .2/3       ใช้การคาดคะเนเกี่ยวกับการวัดในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐาน ค 2.2       แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
      ค 2.2  .2/1       ใช้ความรู้เกี่ยวกับความยาวและพื้นที่แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1     มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมาย
                               ทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์
                               และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
     6.1 .1-3/1    ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
    ค 6.1 .1-3/2     ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีใน
                               การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
    ค 6.1 .1-3/3     ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
    ค 6.1 .1-3/4     ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และ 
                               การนำเสนอ ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
   ค 6.1 .1-3/5     เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และนำความรู้ หลักการ กระบวนการทาง
                              คณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ
                 ค 6.1 .1-3/6     มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


สาระสำคัญ
                การวัดความยาว และการนำไปใช้นั้นต้องมี การเลือกใช้หน่วยการวัดให้เหมาะสมเพื่อที่จะคาดคะเนให้ถูกต้องหรือใกล้เคียง เพื่อแก้ปัญหาที่พบเจอและค้นหาคำตอบที่ต้องการ
จุดประสงค์การเรียนรู้
                1. เพื่อให้นักเรียนเลือกใช้หน่วยการวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์
สาระการเรียนรู้
                     ด้านความรู้
                                1. การวัดความยาวและการนำไปใช้
ทักษะกระบวนการ
                                1. เลือกใช้หน่วยการวัดความยาวได้อย่างเหมาะสม
                                2. ใช้ความรู้เกี่ยวกับความยาวและพื้นที่แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
คุณลักษณะ
1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมันในการทำงาน
การประเมินผลรวบยอด
ชิ้นงานหรือภาระงาน
1. ให้นักเรียนจับกลุ่ม 4 – 5 คน ทำใบกิจกรรมแก้โจทย์ปัญหาการวัดความยาว
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นเตรียม
1.             กล่าวทักทายนักเรียน
2.             สอบถามความรู้เดิมว่าใครรู้จักหน่วยวัดอะไรบ้าง
3.             ถามว่าใครเปลี่ยนหน่วยเป็นบ้าง เช่น 100 เซนติเมตร เปลี่ยนเป็นเมตรได้เท่าไหร่
4.             ครูบอกว่าวันนี้จะให้นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน แล้วจำลองตนเองเป็นสถาปนิกช่วยกันวางแผนการตกแต่งห้องเรียนใหม่โดยให้ทุกคนมีสิทธิที่จะสั่งอุปกรณ์เพื่อตกแต่งห้องเรียนตามความต้องการของสมาชิกภายในกลุ่ม โดยสามารถสั่งวัสดุ พื้น เพดาน หน้าต่างและกระดานโดยต้องกำหนดความกว้างและความยาวของสิ่งที่จะสั่งให้เรียบร้อย ภายใน 30 นาที
ขั้นดำเนินงาน
5.              ครูให้นำอุปกรณ์ ไม้บรรทัด ตลับเมตร สายวัดความยาว มาวางไว้หน้าห้องแล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาหยิบอุปกรณ์และกลับไปที่กลุ่ม
6.             ครูปล่อยให้นักเรียนเริ่มวัดตามความต้องการโดยครูคอยสังเกตการณ์ใช้อุปกรณ์ของนักเรียนว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
7.             เมื่อเวลาผ่านไปครบ 30 นาทีครูให้นักเรียนกลับมานั่งประจำกลุ่มและส่งตัวแทนออกมาพูดว่าจะสั่งสินค้าอะไรบ้าง และขนาดเท่าไหร่
8.             เมื่อออกมานำเสนอครบทุกกลุ่มแล้วครูก็จะเปรียบเทียบขนาดการสั่งซื้อของแต่ละกลุ่มว่าเหมือนกันหรือไม่
9.             ครูขอตัวแทนกลุ่มเพื่อวัดขนาดของส่วนต่างๆในห้องเรียนเพื่อดูว่ามีความใกล้เคียงมากน้อยเพียงใด

ขั้นสรุปผล
10.      ครูอธิบายถึงหน่วยการวัดที่เหมาะสมว่าควรใช้หน่วยเมตรและเซนติเมตรในการวัดความกว้างและความยาวภายในห้อง

สื่อและแหล่งเรียนรู้
1.ใบงานการวัดความยาว
2. ตลับเมตร
3. ไม้บรรทัด
4. สายวัดความยาว

การวัดและประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือการวัด
เกณฑ์
นักเรียนเลือกใช้หน่วยการวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์
การทำใบกิจกรรม
ใบกิจกรรม

เลือกใช้หน่วยที่เหมาะสม



ประเด็น
การประเมิน
ระดับคุณภาพ
ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
นักเรียนเลือกใช้หน่วยการวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์
วัดความกว้างและความยาวคลาด
เคลื่อนไม่เกิน 5 เซนติเมตร
วัดความกว้างและความยาว คลาดเคลื่อน 6-10 เซนติเมตร
วัดความกว้างและความยาวคลาดเคลื่อน 11-14 เซนติเมตร
วัดความกว้างและความยาวคลาด
เคลื่อนเกิน 15 เซนติเมตร





วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)


             http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0 กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 - 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321 กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว

ทิศนา แขมมณี ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้   Johnson and Johnson (2557:98-99) กล่าวไว้ว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1.ลักษณะแข่งขันกัน ในการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่น เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่องหรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่างๆ
2.ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น
3.ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย              
การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว

                สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1.ลักษณะแข่งขันกัน ในการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่น เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่องหรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่างๆ
2.ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น
3.ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย 
สามารถจัดการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้            

                ที่มา
เลิศชาย ปานมุข. (2015). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2561
oknation. (2561). http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2561
ทิศนา แขมมณี. (2553).  ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกร.